หลักธรรมและพระราชดำริ
หลักธรรม : เบญจศีล คือ ศีล ๕ ได้แก่
ศีลข้อที่ ๑ ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขา ปะทัง สะมา ทิยามิ งดเว้นการฆ่าสัตว์
ศีลข้อที่ ๒ อะทินนาทานา เวระมะณี ปะทัง สะมา ทิยามิ งดเว้นการลักขโมย)
ศีลข้อที่ ๓ กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี ปะทัง สะมา ทิยามิ งดเว้นการละเมิดกาม
ศีลข้อที่ ๔ มุสาวาทา เวระมะณี ปะทัง สะมา ทิยามิ งดเว้นการพูดเท็จ
ศีลข้อที่ ๕ สุราเมระยะมัชชปะมาทัฏฐานา เวระมะณี ปะทัง สะมา ทิยามิ งดเว้นการเสพสุราเมรัย
โดยเฉพาะศีลข้อที่ ๕ เป็นสิ่งเริ่มต้นของการกระทำที่เป็นบาปทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นการฆ่าสัตว์
ลักขโมย ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จได้ง่าย เกิดจากจิตใจที่เมามัวขาดสตินั่นเอง ดังคำกล่าวที่ว่า “วิถีชีวิตที่ดีเป็นแนวทางเพื่อถึงนิพพาน ” แต่วิถีชีวิตที่สวนทางนิพพาน จึงเป็นชีวิตที่ประกอบด้วยปัญหา เป็นชีวิตที่ไม่ดี ความดับแห่งปัญหาจึงเป็นหลักการตัดสินความดีและความชั่ว ดังนั้นการเว้นจากการเสพสุราเมรัยและของเมา ซึ่งเป็นหนทางดำเนินสู่ความหมดทุกข์
พระราชดำริ
การปฏิบัติตนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยยึดหลัก “ความพอประมาณ ความมีเหตุผล ดำเนินชีวิตอย่างมีสติและปัญญา” ซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันที่ดี ทั้งนี้ หากพุทธศาสนิกชนและประชาชนชาวไทยทุกคนน้อมนำพระราชดำริมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต สามารถจะมีความสุขที่ยั่งยืนและมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ไม่ยาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น